วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

"วันครู"

ประวัติความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)

ข้าขอประนมกรกระพุ่ม

อภิวาทนาการ

กราบคุณอดุลคุรุประทาน

หิตเทิดทวีสรร

สิ่งสมอุดมคติประพฤติ

นรยึดประคองธรรม์

ครูชี้วิถีทุษอนันต์

อนุสาสน์ประภาษสอน

ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน

นะตระการสถาพร

ท่านแจ้งแสดงนิติบวร

ดนุยลอุบลสาร

โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร

ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล

ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ

ลุฉลาดประสาทสรรพ์

บาปบุญก็สุนทรแถลง

ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน

เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล

มนเทิดผดุงธรรม

ปวงข้าประดานิกรศิษย์

(ษ)ยะคิดระลึกคำ

ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ

อนุสรณ์เผดียงคุณ

โปรดอวยสุพิธพรเอนก

อดิเรกเพราะแรงบุญ

ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน

ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ

ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน
ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม

จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
หน้าที่การงานไม่ได้
4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต
หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ
ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง
หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
10.
รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน

แหล่งที่มาของประวัติ
กิจกรรมวันไหว้ครู ประจำปี ๒๕๔๙
โรงเรียนวัดนิโครธาราม

คุณครูวัลลดา พิธีการ
ในการจัดกิจกรรมวันไหว้ครูในปี ๒๕๔๙







ของนักเรียนโรงเรียนวัดนิโครธาราม
ตั้งระดับชั้นอนุบาล ๓ ขวบ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวมทั้งสิ้น ๔๕๗ คน








คุณครูสมศักดิ์ ผลากิจ
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนิโครธาราม
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนไตร




เด็กหญิงอารียา จันทร์เพ็ญ
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กล่าวนำคำไหว้ครู




(กล่าวนำ) เด็กหญิงอารียา จันทร์เพ็ญ
ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตตรา นุสาสกา

(กล่าวตามพร้อมกัน)
ข้าขอประณตน้อมสักการ
บูรพคณาจารย์ ผู้กอรปเกิดประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ข้าและประเทศไทย เทอญ
(กล่าวสรุป) เด็กหญิงอารียา จันทร์เพ็ญ
ปัญญา วุฑฒิ กเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหํ




เด็กหญิงศิริโสภา ศิริโสภณ และเด็กชายอานนท์ ชูพุต
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ห้อง ๑





เด็กหญิกัณฐิกา ทองคำ และเด็กชายวรรณุรัตน์ ธนการ
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ห้อง ๒



เด็กหญิงเบญจมาภรณ์ ชูศิริ และเด็กชายอดิศักดิ์ เสนมอภาค
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๑



เด็กหญิงณัฐวิกา ปิยะวงศ์ และเด็กชายกฤษฎา คงแก้ว
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ห้อง ๑


เด็กหญิงสิริพร นิลศรี และเด็กชายศิริศักดิ์ อารีการ
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ห้อง ๒



เด็กหญิงฟาริดา บุตรหลำ และเด็กชายอรรถกร สร้างเลี่ยน
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๒




เด็กหญิงพรทิพรส พึ่งกิจและเด็กชายภาณุมาส อ่อนสนิท
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ห้อง ๒




เด็กหญิงสมฤทัย หอมหวน และเด็กชายธันวา นาคพันธ์
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ห้อง ๒




เด็กหญิงกัลยรัตน์ หมื่นกล้า และเด็กชายภูมิศิษฎ์ ดิษฐรักษ์
ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ห้อง ๒



คณะครูโรงเรียนวัดนิโครธาราม
รับการไหว้จากนักเรียนเป็นชุดๆ


คุณครูศุภวรรณ ไพพงศ์ คุณครูวัลลดา คงสามารถวัฒนา
คุณครูสมนึก ธนการ และคุณครูสมพร พิพิธภัณฑ์
ขณะรับไหว้จากนักเรียนโรงเรียนวัดนิโครธาราม




เด็กหญิงพิมพิน บางอวด
ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนวัดนิโครธาราม
กล่าวรายงานเรื่อง
พระคุณครู
ซึ่งสามารถเรียกน้ำตาจากคุณครูและเพื่อนนักเรียนได้อย่างซาบซึ้ง


คุณครูสมศักดิ์ ผลากิจ
กล่าวให้โอวาทนักเรียน เนื่องในวันไหว้ครู ประจปี ๒๕๔๙








แหล่งที่มา

http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=313223&Ntype=4

























































0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

free counters