วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลข่าวสาร ทุกชนิด จะถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายย่อยและช่องทางสื่อสารนานาชนิดที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลถูกส่งจากต้นกำเนิดผ่านส่วนต่าง ๆ ไปถึงยังเป้าหมายได้ คือ การใช้เทคโนโลยีแบบสวิตซิ่งแพ็กเก็ตและควบคุมการทำงานโดยโพรโตคอลทีซีพี/ไอพี ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ทุกชนิดที่จะต้องใช้เมื่อติดต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบได้แก่ ระบบธรรมดาที่ใช้โมเด็มคู่กับสายโทรศัพท์ และ ระบบ ADSL ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การกำหนดชื่อที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต

การติดต่อกันได้ใช้มาตรฐานการสื่อสารหรือโพรโตคอลทีซีพี/ไอพี การจะส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเรียกว่าไอพีหรือไอพีแอดเดรส ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต เท่ากันทุกชุดรวมกันเป็นหมายเลขไอพี 32 บิต โดยจะมีจุดคั่นแต่ละชุด

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้งานง่ายขึ้น กว้างขวางขึ้น บุคคลทั่วไปก็สามารถเรียนรู้ในการใช้งานได้เร็วขึ้น จึงมีการกำหนด URL:Uniform Resource Locator หรือ "เว็บไซต์" ขึ้น และเมื่อเรียกใช้งานก็เพียงแต่พิมพ์ URL ดังกล่าวลงในล่อง Address ของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แล้วสั่งท่องเว็บนั้น ระบบบริการจดจำค้นหา(DNS:Domain Name System) ของผู้ให้บริการ จะแปลงเป็นไอพีแอดเดรส แล้วติดต่อนำเว็บไซต์ที่ระบุมาแสดงบนหน้าจอต่อไป

ประเภทขององค์การหรือชื่อประเทศของเครือข่าย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ชื่อโดเมนระดับบนสุดที่เป็นชื่อย่อของประเภทองค์การในสหรัฐอเมริกา
    1. .com กลุ่มธุรกิจการค้า เช่น www.amazon.com
    2. .edu สถาบันการศึกษา เช่น www.okstate.edu
    3. .org กลุ่มองค์การที่ไม่หวังผลกำไร เช่น www.reporter.org
    4. .gov กลุ่มองค์กรของรัฐ เช่น www.nasa.gov
    5. .mil กลุ่มองค์กรทางทหาร เช่น www.amy.mil
    6. .net กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่าย เช่น www.neteork
  2. ชื่อโดเมนระดับบนสุดที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกา
    1. Ca ประเทศแคนาดา เช่น www.yellowpages.ca
    2. Jp ประเทศญี่ปุ่น เช่น www.kelo.ac.jp
    3. Uk ประเทศอังกฤษ เช่น www.icdl.open.ac.uk
    4. Au ประเทศออสเตรเลีย เช่น www.geko.com.au
    5. My มาเลเซีย เช่น www.upm.edu.my


    ตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดของประเทศไทย
    1. Ac สถาบันการศึกษา เช่น www.swk.ac.th
    2. Co กลุ่มธุรกิจการค้า เช่น www.thairath.co.th
    3. Go กลุ่มองค์กรของรัฐ เช่น www.boi.go.th
    4. Or กลุ่มองค์การที่ไม่หวังผลกำไร เช่น www.nectec.or.th
    5. Mi หน่วยงานทางทหาร เช่น www.navimi.th


โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์

คือโปรแกรมที่แสดงหน้าเว็บเพจ ซึ่งแต่เดิมนั้นจะแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนารูปกราฟิก ชื่อว่า โมเสก เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและกราฟิก

บริการต่าง ๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต

  1. บริการด้านการสื่อสาร
    1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลล์
    2. การสนทนาออนไลน์
    3. ยูสเน็ต
    4. เทลเน็ต
    5. เอฟทีพี
  2. บริการด้านค้นหาข้อมูลต่าง ๆ
    1. www เวิลด์ ไวด์เว็บ
    2. เว็บไซต์หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์
    3. เว็บเบราร์เซอร์
    4. ไฮเปอร์เท็กซ์
    5. โกเฟอร์

ที่มาของหล่งข้อมูล

http://www.plvc.ac.th/~krueka/mywork/network.htm

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความสามารถของ Internet

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ทั้งนี้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้าน การแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่ กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
4. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
5. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
7. การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
8. สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
9. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

แหล่งข้อมูล
www.sic.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=5742.0

ความรู้เกี่ยวกับ Internet

ความรู้เบื้องต้นของ Internet
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace )
อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย

การเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณจากดาวเทียม ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต
ISOC ( Internet Society )
ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด


ที่มาแหล่งของข้อมูล




































































free counters