วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปราสาทเขาพนมรุ้ง บุรีรัมย์

อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ประวัติความเป็นมาปราสาทหินเขาพนมรุ้ง


ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้น หมาย
ถึง พระนารายณ์เทพองค์หนึ่งของศาสนา
พราหมณ์ บรรทมหลับพักผ่อนอยู่บนอนันต
นาคราช ณ เกษียรสมุทรโดยมีพระนางลักษมี
ีซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหส
ีคอยปรนนิบัติพัดวีมิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระ
นารายณ์เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบาย
เมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพ
อีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้สร้าง
โลกและทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับ
ใหม่ครั้นสิ้นกัลปโลกก็จะแตกดับลงไปเอง
พระนารายณ์ก็จะบรรทมหลับพักผ่อนอีกครั้นหนึ่ง

ทางดำเนินสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

ทางดำเนิน คือทางเดินก่อนถึงสะพาน
นาคราชที่ขึ้นสู่ศาสนสถานปราสาทเขาพนม
รุ้ง ณ ทิศเบื้องบนสองข้างทางเดินนี้มีเสา
ศิลาทรายทำคล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยมปักเรียง
รายสองข้างทางเรียกกันม

เนื่องจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบและก่อสร้างของปราสาท
หินเขาพนมรุ้งได้ตรงตามหลักดาราศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์มหัศจรรย์ทาง
ธรรมชาติคือ "แสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตูทั้ง15 บานของปราสาทเขาพนมรุ้ง" ซึ่ง
เป็นปรากฏการณ์ที่มีความมหัศจรรย์และสวยงามเป็นอย่างมาก โดยปรากฏการณ์นี้
จะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง 2 ครั้ง
และดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งอีก 2 ครั้ง โดยปรากฏการณ์นี้
จะเกิดขึ้นทุกๆปี ดังนี้คือ


ครั้งที่ 1 ดวงอาทิตย์ตกทะลุซุ้มประตู 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5 -7 มีนาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณเวลา 18.15 – 18.23 น.

ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 3 – 5 เมษายนของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.05 0 06.13 น.

ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5– 7กันยายน ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.08 น.

ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ตกทะลซุ้มประตุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
วันที่ 5 – 7ตุลาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 17.50 – 17.58

โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณวันและเวลาดังกล่าวของทุกปีแต่บางช่วงเวลาอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

ตำนานเรื่องเล่า




ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นศาสนสถานสำคัญบนยอดเขาของนครขอมโบราณนาม วนัมรุงปุระ ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้งวนัมรุงปุระ เป็นเมืองใหญ่และมีคามสำคัญมากเมืองหนึ่งบนเส้นทางปราสาทหินโบราณ จากปราสาทหินพิมายไปถึงเมืองพระนคร เมืองแห่งนี้ล่มสลายลงในยุคขอมสิ้นอำนาจและไม่เคยกลับคืนมาเป็นเมืองอีกเลย คงปล่อยให้ศาสนสถานอันสวยงามที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่งนี้เปลี่ยวร้าง ปรักหักพังไปตามกาลเวลา






ปราสาทหินพนมรุ้ง น่าจะได้รับการจัดสร้างโดย นายช่างฝีมือเยี่ยมของขอม การรังวัดจัดสร้างต้องทำอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะการจัดสร้างแนวประตูปราสาท ที่ต้องวางแนวขนานกับยอดเขา เล็งให้ศูนย์กลางประตูอยู่ในแนวเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้นตรงกันตลอดแล้วทำเครื่องหมายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นขนานกับยอดเขา จึงสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวตลอดทั้ง 22 ประตู และเกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้เพียงวันเดียวในรอบปี
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นใหม่ด้วยการผนวกเอาตำนาน การสร้างปราสาทหินพนมรุ้งรวมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนท้องถิ่นจัดเป็นงานเทศกาลวันเดียวที่มีเนื้อหาและมีจุดสำคัญของงานต่อเนื่องกันตลอดทั้งวัน นับตั้งแต่การรอชมพระอาทิตย์ขึ้น การทำบุญตักบาตร ขบวนแห่จำลองขบวนเดินทางของเจ้าเมือง การเฉลิมฉลองสมโภชปราสาท และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมการแสดงแสงเสียง ประกอบการแสดงในพื้นที่โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ในช่วงกลางคืน
วันเวลาจัดพิธีกรรม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี


รูปแบบประเพณี

เป็นงานประเพณีวันเดียวที่มีจุดเด่นเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นการเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวกันตลอดทั้ง 22 ประตู ปัญหาสำคัญคือ ทุกปีจะมีผู้เฝ้าชมมากแต่ประตูปราสาทเล็กทำให้ชมได้ลำบาก หากไม่ต้องการเบียดชม ก็มีการทำบุญตักบาตรบนยอดเขาในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการเดินทางของเจ้าเมืองวนัมรุงปุระนำขบวนนำขบวนข้าราชบริพารขึ้นมานมัสการองค์ปราสาท การนำชมตัวปราสาท และตกค่ำจะเป็นการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมแสงเสียงประกอบการแสดงพื้นในที่ลานกว้างหน้าปราสาทท่ามกลางแสดงจันทร์และแสงดาว

จุดเด่นของพิธีกรรม

มีจุดเด่นของพิธีกรรมเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงเช้าและมีช่วงพักในเวลากลางคืน นับเป็นงานเทศกาลที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายกิจกรรมติดต่อกันอย่างน่าสนใจยิ่ง































ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์










ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ (Unseen Thailand)

ณ ที่ราบอีกฟากเชิงเขาพนมรุ้ง แดดอุ่นนวลทาบไล้ลวดลายจำหลักบนหินทรายอันวิจิตรตระการตาของปราสาทเมืองต่ำ ยิ่งสร้างเสน่ห์และทำให้ปราสาทหลังนี้มากไปด้วยเรื่องราว ความงดงามของลวดลายสลักเสลาที่คงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ทำให้ทุกสัดส่วนของปราสาทเมืองต่ำเป็นเสมือนบทบันทึกความรู้ของศิลปะขอมอันน่าศึกษาและใส่ใจ

ที่ราบอีกฟากเชิงเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 64 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ

เป็นองค์ประธาน และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ปราสาทหินเมืองต่ำเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มีองค์หนึ่งมาบดบัง ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 มุม ปรางค์ประธาน ปัจจุบันมีสภาพให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น โดยมีผนังเเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขนาด 7 x 7 เมตร โครงสร้าง โดยรวมนั้นมีลักษณะเหมือนกับปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ จะต่างกันก็เพียงแต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้า ส่วนปรางค์บริวารไม่มี ปรางค์ประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นด้านที่มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์เพียงด้านเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกนั้น ทำเป็นรูปประตูหลอก

จากการขุดค้นเพื่อทำการ บูรณะปราสาทเมืองต่ำของกรมศิลปากร ได้ขุดพบหน้าบันและทับหลังของมุขปราสาทปรางค์ประธานทำจากหินทราย หน้าบันจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ คือ นั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ เหนือช้างเอราวัณสามเศียรในซุ้มเรือนแก้วอยู่บน หน้ากาล ลักษณะของซุ้มหน้าบันนี้ เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน มีอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาททั้ง 5 จะล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีทับหลังและซุ้มประตูแกะสลักด้วยหินทรายอย่าง งดงาม มีสระน้ำ หรือบาราย กรุด้วยศิลาแลง ทั้ง 4 ทิศ มุมสระมีพญานาคหินทราย 5 เศียร ทอดตัวยาวรอบขอบสระน้ำ ชั้นนอกปราสาทมีกำแพงศิลาแลงอีกชั้น
















































ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
free counters