วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กลุ่มที่เรียน

กลุ่มเรียนที่ : 13

BrithDay

29 มีนาคม 1988

สถานศึกษา


'กำลังศึกษาที่...มมส.' สาขาบริหารการเงิน 'ชั้นปีที่ 3'

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัวค่ะ


ชื่อ : นางสาวณัฐฐินันท์ ยอดสะเทิ้น
ชื่อเล่นๆ : กระจง

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำเว็ปไซต์ e-commerce

ขั้นตอนการทำเว็ปไซต์ e-commerce


การทำเว็บเพื่อธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ของการทำเว็บไซต์ เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไว้ อย่างชัดเจน โดยควรพิจารณาเป็นข้อ ๆ ก่อนลงมือทำเว็บดังนี้ :-

1.) กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ ว่าจะจัดทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เช่น ท่องเที่ยว บันเทิง กีฬา ค้าขาย บริการ ข้อมูล เป็นต้น

2.) กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อที่จะได้จัดโทนสี รูปภาพ กราฟฟิก เนื้อหา หน้าตาของเว็บเพจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้เยี่ยมชมเว็บ และ อาจช่วยให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์เหล่านั้นกลายเป็นขาประจำ พร้อมกับกลายมาเป็นลูกค้าของเราได้ในที่สุด ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของคนทำเว็บเชิงธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

3.) หากทำเว็บที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูล ควรศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะได้นำเนื้อหาสาระมาประยุกต์ใช้ ปรับปรุง และนำเสนอได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์

4.) หากเว็บไซต์มีเนื้อหามากๆ ก็จำเป็นต้องมีบุคลากรที่ชำนาญในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ดำเนินการได้อย่างไม่ติดขัด ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ กราฟิกดีไซน์ เว็บมาสเตอร์ เจ้าหน้าที่พัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์ เป็นต้น

5.) เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อความคล่องตัวของการทำเว็บ เช่น โปรแกรมต่างๆ ทั้งในด้านระบบฐานข้อมูล และมัลติมีเดีย โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

ความสำเร็จของคนทำเว็บไม่ได้อยู่ที่ความเก่งของคนเพียง คนเดียว องค์กรขนาดใหญ่หรือเว็บไซต์ดัง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกนั้น จำเป็นต้องมีผู้ร่วมงานที่ทำงานกันเป็นทีมในด้านต่าง ๆ จำนวนมากเพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานของตัวเอง

หากต้องการลดต้นทุนในการจ้างคนทำเว็บที่เป็นพนักงาน ประจำเนื่องจากงบประมาณจำกัด ควรหาทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำเว็บมาช่วยในบางด้านเพื่อพัฒนา เว็บไซต์ให้เกิดความหลากหลาย และ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งปัจจุบันนี้ การทำเว็บไม่ได้ยุ่งยากและสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายแพงเกินไปเหมือนเมื่อหลายปีที่ผ่านมานัก เพราะความเจริญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการแข่งขันในด้านการตลาดสูงขึ้น จึงทำให้ Internet Marketing มีสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ถูกและดีขึ้นเรื่อย ๆ

ที่มา : คลิกบีเคเคดอทคอม

บทความ E-Commerce

E-Commerce (การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ


- การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
- การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
- การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
- บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน

E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce

ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินบน E-Commerce

จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต

สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้

1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม


ที่มา เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย
free counters